การที่คนเราทำอะไรก็แล้วแต่  ส่วนใหญ่จะมี 2 ด้านเสมอ  ก็เหมือนกันการแพทย์แผนไทยเหมือนกัน  เวลาที่จะใช้ยาหรือสมุนไพรอะไรมักจะมองกันแต่สรรพคุณของตัวยานั้น ๆ แต่หาได้มองถึงการแสลงของตัวยาไม่  ดังนั้นเวลาใช้จึงทำให้เกิดโรคได้เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั่นเองค่ะ  “การอยู่ไฟ” การเช่นเดียวกันนะคะ  มีข้อควรระวังที่จะต้องดูแลเป็นพิเศษดังนี้

  • ถ้ามีไข้ ไม่สบาย หรืออ่อนเพลียมากเกินไป ไม่ควรอยู่ไฟ เพราะจะยิ่งทำให้ร่างกายเพลียมากขึ้น และอาจจะมีปัญหาในการเข้าอบกระโจม เพราะขบวนการอยู่ไฟต้องมีการอบความร้อนเข้ากระโจม ทำให้ความดันสูงขึ้น และทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน  ดังนั้นต้องรีบแจ้งกับผู้มาให้บริการก่อน
  • ถ้ายังมีอาการบวมตามตัวอยู่ กดผิวแล้วบุ๋มนาน เพราะโลหิตไหลเวียนไม่ดี ก็ยังอบตัวไม่ได้ ควรให้หายเป็นปกติก่อน
  • ควรให้ข้อมูลส่วนตัวในเรื่องสุขภาพและข้อมูลการคลอด เพื่อผู้ดูแลเรื่องการอยู่ไฟ จะเลือกวิธีที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย
  • ถ้าอยู่ไฟด้วยการเข้ากระโจมอบ หรือตู้อบสมุนไพร เมื่อครบกำหนดเวลา ควรนั่งพัก ให้อุณหภูมิในร่างกายลดลงจนปกติแล้วจึงอาบน้ำ
  • ควรสังเกตดูอาการตัวเองด้วยว่า รู้สึกมึนศีรษะ หายใจสะดวกหรือไม่ ถ้าเริ่มมีอาการควรพักก่อน
  • ถ้าซื้ออุปกรณ์มาอยู่ไฟเองที่บ้าน ควรศึกษาอย่างละเอียด ต้องได้รับคำแนะนำวิธีการทำอย่างละเอียดจากผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ รวมทั้งข้อห้ามและข้อระวังต่างๆ
  • การอยู่ไฟ หากต้องการใช้บริการ ควรเลือกผู้ที่ประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ และต้องเลือกที่มีใบอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข หรือมีแพทย์ ผดุงครรภ์ แผนโบราณ เป็นผู้ดูแล

เป็นยังไงบ้างค่ะ  ทุกอย่างเราต้องศึกษาให้ถูกต้องก่อนที่จะทำเพราะบางเรื่องเมื่อผลมันเกิดขึ้นแล้วจะแก้ไขยากนะคะ 

ขอให้คุณแม่ทุกท่านมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงค่ะ 😉