อีกเช่นเคยนะคะที่เวลาเข้าร่วมประชุมกับทาง “ชมรมการบริหารทรัพยากรบุคคลจังหวัดภูเก็ต”  เราจะได้รับความรู้เกี่ยวกับ HR. Tips จากคุณประเสริฐ  มนต์ประสิทธิ์  วันนี้ก็เช่นกัน  หนิงก็เลยไม่อยากเก็บสิ่งที่ได้รับรู้ไว้เพียงคนเดียว  หรือเฉพาะคนที่เข้าประชุมเท่านั้น  สัญญานะคะว่าต่อไปหากได้รับข้อมูลเกี่ยวกับ HR. Tips หนิงจะพยายามมาเขียนเล่าสู่กันทุกครั้งค่ะ  แต่ตอนนี้ขอเล่าเรื่องที่ได้รับฟังมาในวันนี้ก่อนนะคะ

เรื่องแรกเป็นเรื่องของ 6 ทักษะที่นายชอบ

  • การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ  ซึ่งข้อนี้หนิงเองก็ขอยืนยันนะคะว่าเป็นเรื่องสำคัญในการทำงานมาก ๆ ไม่ว่าคุณจะอยู่ในตำแหน่งไหน  เพราะหากการสื่อสารไม่ดีโอกาสในการผิดพลาดก็จะเกิดขึ้นสูง  ดังนั้น  เราต้องมาดูกันว่าการสื่อสารประกอบด้วยอะไรบ้าง  ส่วนแรกส่วนของการส่งสาร  ซึ่งการส่งสารก็มีหลายทางเช่นกัน  เช่น  การพูดด้วยวาจา  การพิมพ์ในรูปของเอกสารหรือส่ง e-mail  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็ต้องมีความชัดเจนทั้งเรื่องของภาษาที่ใช้และข้อมูลที่ครบถ้วนด้วย  ไม่ใช่คิดแล้วแต่ชี้แจงไม่หมด  ซึ่งคนรับสารก็ไม่สามารถเข้าทางในได้  อีกอย่างสำหรับเรื่องของการส่งสาร  คือ  ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ทางเดียวเสมอไป  บางครั้งต้องใช้ทั้งเอกสารและการอธิบายด้วยเพื่อสร้างความชัดเจนให้มากขึ้น  และป้องกันการผิดพลาด  มาถึงส่วนที่สองก็คือส่วนของการรับสาร  ซึ่งบางครั้งคิดว่าเข้าใจแล้วแต่อาจจะคิดไปเองตามรูปแบบที่ผู้รับอยากให้เป็นเพราะพื้นฐานคนเราต่างกัน  ดังนั้นเมื่อรับสารแล้วทางที่ดีก่อนจะปฏิบัติใด ๆ ถ้าเป็นไปได้  ควรจะทำการยืนยันก่อนว่าที่เราเข้าใจนั้นถูกต้องตรงกันจริง ๆ
  • การทำงานเป็น Team  จากที่หนิงทำการ Training  ในหลาย ๆ ครั้ง  หนิงจะย้ำเสมอว่า  ตอนนี้รูปแบบของการทำงานนั้นเปลี่ยนแปลงไปแล้ว  ยุคการทำงานแบบ One Man Show หมดสมัยไป  ซึ่งก็คือยุคของการใช้ IQ นั่นเอง  แต่ ณ ปัจจุบันเป็นยุคของ EQ ซึ่งก็คือยุคของการใช้ Service Mind  ใช้การทำงานเป็นทีม  ดังนั้นการที่เราอยู่ในองค์กรยิ่งมีขนาดใหญ่เท่าไหร่  ปัญหาการขัดแย้งต่าง ๆ ยิ่งมีมาก  เพราะเป็นเรื่องธรรมดาของคนร้อยพ่อพันแม่มาอยู่ด้วยกัน  แต่หากเราพยายามใช้หลัก “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” หรือ “การคิดบวก” ให้มาก ๆ ก็อยู่กันเป็น Team ก็อาจจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปค่ะ
  • นักแก้ปัญหา  ไม่ใช่ปัญหาเชาว์นะคะ  แต่โดยปกติคนที่ตอบปัญหาเชาว์ต่าง ๆ ได้ดีก็มักจะแก้ปัญหาได้ดีนะ  (เท่าที่เจอมา)  นั่นหมายความว่าบุคคลบางจำพวกอาจจะไม่ใช่คนที่เรียนหนังสือเก่ง  แต่รู้จักในการเอาตัวรอดเป็นก็อาจจะอยู่ในข่ายนี้ได้เหมือนกันนะคะ  เพราะคนที่เรียกเก่งแต่ต้องใช้หลักการหรือตัวอย่าง  หรือความขยันทำให้เรียนเก่ง  ก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาเก่ง  ตรงกับข้ามกับคนที่เรียนไม่เก่งแต่เอาตัวรอดได้นะคะ
  • ผู้มีความคิดริเริ่ม  ซึ่งหนิงมักจะบอกกับทีมงานของหนิงเสมอว่า  บางครั้งเรื่องบางเรื่องที่เราทำกันมานานจนเป็นประเพณีนั้น  ไม่ได้หมายความว่า  ดีแล้ว  หรือเปลี่ยนไม่ได้  หากสิ่งที่เราปฏิบัติมานานแสนนานนั้น  เรายังมองเห็นจุดบกพร่อง  ก็มีวิธีการอื่นที่ง่ายกว่า  สะดวกกว่า  เราก็ควรที่จะยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงด้วย  ไม่งั้นการพัฒนาก็จะไม่เกิด  ซึ่งก่อนหน้านี้หนิงก็เคยพูดถึงเรื่องของการ Change เอาไว้บางแล้ว  ลองกลับไปอ่านกันดูนะคะ
  • มีทักษะในการจัดการ  แน่นอนค่ะ  ผู้ที่มีการจัดการที่ดีย่อมมีความเป็นระบบสูง  นั่นก็คือ  อาจจะต้องมีการวางแผนงาน  เช่น การทำ Action Plan ต่าง ๆ ล่วงหน้าเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมนั่นเอง  และนอกจากเรื่องของการวางแผนแล้ว  เราเองก็ควรจะมีการจัดการคน  จัดการเวลาที่ดีด้วย  ประสิทธิภาพการทำงานจึงจะเกิดขึ้นสูงสุด  เพราะหากคุณมองแค่มุมเดียว  มันก็ไม่สามารถตอบสนองได้ทุกด้านนั่นเองค่ะ
  • ผู้ที่สามารถปรับตัวเองได้  ขออนุญาตนะคะ  หนิงขอยกตัวอย่างเช่นสัตว์ต่าง ๆ ที่มีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมเพื่อเอาตัวรอดนั่นเอง  ไม่ว่าจะเป็นจิ้งจก, ตั๊กแตน หรืออีกหลาย ๆ ชนิด  หรือถ้าจะให้เห็นภาพอีกอย่างก็คือ “น้ำ” เพราะน้ำเมื่ออยู่ในภาชนะชนิดใดก็ตามมันก็สามารถที่จะอยู่ได้  เพราะมันมีการปรับตัวนั่นเอง  แต่ถ้ามันกลายเป็นน้ำแข็งเมื่อไหร่  มันก็ไม่สามารถที่จะปรับเข้ากับภาชนะต่าง ๆ ได้  จนกว่ามันจะละลาย  จริงไห๊มค่ะ

เป็นไงบ้างค่ะ  สำหรับ 6 ทักษะที่กล่าวมา  บางข้ออาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับบางคน  แต่เราต้องไปหานะคะว่าตัวเราเองยังขาดข้อไหนบ้าง  เพราะไม่งั้นเราก็จะไม่ได้แก้ไขในจุดที่เราบกพร่อง  ส่วนเรื่องไหนที่เราแข็งแรงแล้วก็พยายามเสริมให้เกร่งยิ่งขึ้นไปอีก  การพัฒนาของการไม่มีทางสิ้นสุดหรอกนะคะ  หากเราสำรวจตัวเองอย่างสม่ำเสมอค่ะ  อิอิ