ช่วงก่อนหน้านี้  หนิงมักได้ยินจากเพื่อน ๆ ที่ฝึกโยคะบ้าง จากนักเีรียนที่ฝึกโยคะบ้าง ว่าตอนที่ไปปรึกษาคุณหมอเรื่องอาการเจ็บหลังจากฝึกโยคะ คุณหมอบางท่านจะตอบกลับมาว่า

โยคะเนี่ย ไม่น่าจะฝึกนะ ไม่ดีเลย

Healthy Ning Yoga Phuket (โยคะครูหนิงภูเก็ต)

หนิงมองว่า การที่มีผู้ที่ไปปรึกษาหมอ อาจจะเกิดจากการใช้งานของกล้ามเนื้อที่มากเกินไป ทำให้เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อ  ซึ่งบางครั้งเวลาที่เราฝึกแต่คนละจะมีแรงกาย แรงใจที่แตกต่างกัน บางคนมีความอดทนสูง ก็ใช้ความพยายามมากหน่อยกับการฝึก หรือบางคนอาจจะแค่เมื่อยจากการใช้กล้ามเนื้อทั่วไปแต่อาจจะอยู่ในกลุ่มที่เจ็บนิดก็ไม่เอาเลย ทำให้ต้องไปปรึกษากับคุณหมอ และบางคนอาจจะฝึกหนักจนเกินไปเกินทั้งความสามารถของร่างกายตัวเอง และเกินความจำเป็นที่จะ้ต้องฝึก ทำให้ความคิดของคุณหมอหลาย ๆ คนที่ช่วงหลัง ๆ มา อาจจะมีคนไปพบคุณหมอมากขึ้นหลังจากที่ฝึกโยคะ ทำให้คุณหมอรู้สึกว่าโยคะส่งผลเสียกับร่างกายได้

สำหรับหนิงแล้ว ณ ปัจจุบัน หลังจากที่หนิงได้ประมวลเหตุการณ์ต่าง ๆ มากมายกับร่างกายตัวเอง และกับเพื่อน ๆ หรือนักเรียนหลาย ๆ คน รวมไปถึงการได้พูดคุย ขอคำปรึกษากับครูอีกหลาย ๆ ท่าน หนิงสรุปเอาเองนะคะว่า  หากเราฝึกแต่พอดีพอเหมาะกับตัวเรา นั่นหมายถึง ดูความสามารถร่างกาย ดูความพร้อมร่างกาย ดูวัยของตัวเอง ดูอาสนะที่ฝึก หนิงกล้ารับประกันว่าเหตุการณ์ที่ได้เล่ามาไม่มีทางเกิดขึ้นอย่างแน่นอน แต่เท่าที่สังเกตเวลาที่เราฝึกกัน

  • พอเราเริ่มรู้สึกว่าเราน่าจะไปต่อได้
  • เห็นเพื่อนทำได้เราก็น่าจะทำได้เพราะเราน่าจะดูแข็งแรงกว่าเขาอีก
  • ประเมินดูแล้ว ท่านี้ไม่น่าจะยากนะ
  • เราฝึกมาก่อน เขาเพิ่งฝึกเอง เขาทำได้เราก็น่าจะลองนะ
  • ได้รับการเชียร์จากเพื่อน ๆ
  • เพื่อนให้กำลังใจว่าเราทำได้อยู่แล้ว
  • เพื่อนให้ทำเพราะจะได้ถ่ายรูปโพสลงแอ๊ป
  • และอื่น ๆ อีกมากมาย

สิ่งเหล่านี้เป็นจุดฉนวนของความคิดในการฝึกแค่อาสนะ แต่ไม่ใช่เป็นการฝึกโยคะที่แท้จริง หนิงไม่แน่ใจเหมือนกันนะคะว่าตัวเองเข้าใจผิดหรือเปล่า ว่า

การฝึกโยคะ เป็นการฝึกจากภายในสู่ภายนอก ภายในสำหรับหนิงแล้วมันคือความคิด จิตใจ ที่เราต้องละให้เป็น รับรู้ให้ได้ ว่าเกิดอะไรขึ้น และทำความเข้าใจ แล้วค่อยส่งผ่านออกมาทางภายนอกสู่การฝึกของตัวเอง เราต้องรับรู้ด้วยตัวของเราเอง ไม่มีใครมาบอกเราได้ว่าเราควรจะฝึกหรือไม่ ควรจะฝึกแค่ไหน หากเราไม่ยอมรับตัวเอง

หลายคนอ่านมาถึงขั้นนี้ อาจจะแปลความหมายของหนิงผิดไปนะคะ หนิงไม่ได้สื่อให้เข้าใจว่า การฝึกโยคะไม่ต้องพัฒนาไม่ใช่เลยค่ะ แต่เราควรรู้ว่าร่างกายเราสามารถพัฒนาได้แค่ไหน มีความจำเป็นไห๊มกับสิ่งที่เราจะต้องฝึกไปถึงขนาดนั้นภายในระยะเวลาอันใกล้ เราควรจะฝึกไปเรื่อย ๆ ฝึกอย่างสม่ำเสมอ รอการปรับตัวของร่างกาย เชื่อเถอค่ะว่าหากเราฝึกแบบค่อยเป็นค่อยไปร่างกายเราจะปรับตัวได้ เราจะไม่มีการบาดเจ็บ และเจ็บปวดรุนแรงจากการฝึกโยคะเลย

ที่สำคัญ ห้ามฝึกจนลืมวัยของตัวเองนะคะ บางคนตั้งหน้าตั้งตาฝึกมาก ลืมอายุตัวเองไปเลย ถามว่าดีไห๊มก็ดีนะคะ หากไม่เกิดอันตรายใด ๆ ขึ้น เพราะหากอายุถึงระดับนึงแล้วการซ่อมแซมร่างกายด้วยตัวมันเองคงไม่สามารถทำได้แล้ว หากเรายอมรับตัวเองแล้่วฝึกแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ต้องไปตั้งเป้าหมายอะไรมากมายกับการฝึกจะีดีกว่าไห๊ม เพราะเป้าหมายแต่ละคนต่างกัน หากแต่เป็นเป้าหมายที่มุ่งเข้าใจแก่นโยคะก็แล้วไป หากเราไม่ได้หลงไปกับอาสนะนะคะ  อิอิ