สองวันที่ผ่านมา ได้ไปนั่งในคลาสที่ “ครูกวี” มาเล่าเรื่องราวของโยคะให้ฟัง ว่า “โยคะ” มีประวัติความเป็นมาอย่างไร การพัฒนาการของโยคะ (จะเรียกแบบนี้ไม่แน่ใจว่าถูกต้องหรือไม่ เพราะมันเหมือนจะไม่ใช่การประยุกต์แค่อย่างเดียว แต่ความคิดบางอย่างมันเปลี่ยนแปลงไปจนเกือบไม่คงเหลือซากเดิมก็ว่าได้ อิอิ)
เรียนจบไปแล้ว 2 วัน ก็ยังคง “งง” อยู่เหมือนกันว่า สรุปแล้วเราเข้าใจแค่ไหน แต่สิ่งที่สัมผัสได้คือ “ครูกวี” คงต้องเหนื่อยมาก ๆ กับการอธิบายสิ่งเหล่านี้ให้กับคนยุคนี้ เพราะถูกทำให้เข้าใจว่า “โยคะ” เป็นแบบนี้ หลาย ๆ คนนะคะที่เจอ รู้ว่าจะศึกษาศาสตร์ของโยคะต้องไปศึกษาจากหลังสือเล่มไหน แต่ก็ไม่แน่ใจว่าเขาได้ศึกษาจริง ๆ หรือเปล่า หรือจำเป็นต้องเลือก ซึ่งก็อาจจะเหมือน ๆ กับหลาย ๆ คนที่ บางทีก็อาจจะก่ำกึ่ง เพราะหากจะหันหา “โยคะ” ตามตำหรับเดิมจริง ๆ ก็คงขายไม่ได้ ไม่ตอบโจทย์ตลาด แล้วจะสอนโยคะเพื่อประกอบเป็นสัมมาชีพได้อย่างไร เพราะความตั้งใจดีนะ แต่มันไม่ตอบโจทย์อ่ะ
หลายคนอ่านมาถึงตรงนี้ เริ่ม “งง” เริ่มตั้งคำถามกันบ้างแล้วจริงไม๊ค่ะ ถ้ายังแสดงว่าไม่ได้คิดตามเลยนะ? หรือไม่ก็อ่านไปงั้น ๆ 5555
“ครูกวี” ทำให้กระจ่างขึ้นว่า โยคะ จริง ๆ แล้วเป็น “วิถีที่นำไปสู่นิพพาน” ซึ่งมีแนวทางหรือองค์ประกอบตาม มรรค 8 ของโยคะ คือ
- ศีล (ยมะ)
- วินัย (นิยมะ)
- ร่างกายที่สมดุล (อาสนะ)
- ลมหายใจที่สงบ (ปราณายมะ)
- การสำรวมอินทรีย์ (ปรัทยาหาระ)
- การเพ่งจ้อง (ธารณะ)
- ฌาน (ธยาณะ)
- สภาวะจิตสูงสุด ซึ่งตำราใช้คำว่า สมาธิ
สรุปคือ มรรค 8 นี้ ให้พัฒนาทั้ง กาย ใจ และจิตวิญญาณ แต่เราดูกันแค่กายเท่านั้น ใจก็บ้างอ่ะนะ เพราะคำพูดสวย ๆ มักจะบอกว่าฝึกแล้ว “สงบ” ได้ “สมาธิ” มี “สติ” เราคงได้ยินกันประจำ แต่แอบคิดว่า “จริงเหรอ” แหะแหะ เพราะตราบใดที่เรายังคงฝึกแบบ “ไม่วาง” ฝึกแบบ “ไม่ตื่นรู้” แล้วสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ยังไง
จริง ๆ แล้วเป็นสิ่งที่หนิงคิดว่าชาวโยคะเกือบทุกคนรู้นะ แต่เราไม่ได้ใส่ใจ และเราคิดว่าเราเอาแค่ 4 ข้อแรกพอละ (มักน้อย ชิมิ) มันเลยทำให้ “โยคะ” กลายเป็นสิ่งที่เราเห็น ๆ กันทั่วไป ยอมรับว่าตัวเองก็ไม่ได้เข้าใจถ่องแท้หรอกค่ะ นี่ก็แค่เขียนเล่าตามความรู้สึก ตามความคิดตัวเอง เท่าที่รับรู้มาแล้วประมวลออกมาเท่านั้น ไม่สามารถบอกได้ว่า อะไร “ใช่” อะไร “ไม่ใช่” อะไร “ถูก” หรืออะไร “ผิด” แต่ทุกอย่างตัวเราเป็นผู้เลือก เลือกที่จะเข้าหา “โยคะ” แบบที่เป็น “โยคะ” หรือเราจะแค่ “ออกกำลังกาย” โดยคิดว่าเราได้ “ฝึกโยคะ” แล้ว
หลังจากเรียนรู้มาแล้ว หนิงคงไม่สามารถ “รับปาก” ได้ว่า จะเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนได้ร้อยเปอร์เซ็น เพียงแค่รู้ว่า เราจะสอดแทรกให้กับผู้ฝึกโยคะกันอย่างไร ยอมรับว่า “ยากมาก” เพราะที่ผ่านมา เราเองก็เคยตกอยู่ในวัฎจักรความคิด และการปฏิบัตเช่นนั้นมา และบอกเลยว่า หากการใช้ชีวิตจริง ผู้ฝึกไม่ได้มีเป้าที่จะเข้าหา “ธรรม” ก็ยิ่งยากขึ้นกับการรู้จัก “โยคะ” อย่างถ่องแท้
ครั้งนี้ ที่เขียน ไม่ได้มุ่งหวังอะไรมาก ขอแค่คนอ่านได้อ่านผ่านไปก่อนและ “อยากชวน” ให้ลองอ่าน “หนังสือโยคะจริงๆ” ให้มากขึ้น แล้วค่อยๆ ลึกไปเรื่อยๆ วันนึงเราอาจจะได้พบกับ “โยคะ” ที่ปลายทางด้วยกัน อิอิ หนิงเองก็ไม่รู้ว่าจะไปถึงหรือเปล่า เพราะเป้าหมายก็แค่ “อยู่อย่างสง่า ตายอย่างสงบ” เท่านั้น
ลึกซึ้ง