วันนี้ เป็นอีกวันที่ได้พูดคุยกับ “ครูหนู ชมชื่น สิทธิเวช” ครูที่คอยให้ข้อคิด ให้สติ ให้มองเห็นถึงข้อเท็จจริงของการสอนโยคะ ของการเป็นครูโยคะที่ดี ว่าเราต้องเลือกอะไรให้กับนักเรียนของเรา
ครูหนู เคยสอนมาครั้งนึงว่า ขณะที่เราเป็นครูโยคะ สิ่งหนึ่งที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติ คือ เราต้องเดินต้องปฏิบัติตาม “มรรค 8” ซึ่งในหัวข้อเล็ก ๆ นั้น ก็มีคำว่า “อหิงสา” นั่นหมายถึงการไม่เบียดเบียน ครูบอกว่า สิ่งที่บอกว่าไม่เบียดเบียน ไม่ใช่หมายถึงเราต้องไปงดกินเนื้อสัตว์นะ เพราะนั่นคืออาหาร แต่สิ่งที่ต้องปฏิบัติ คือ ต้องไม่เบียดเบียน ไม่ว่าจะเป็นการเบียดเบียนตัวเอง หรือแม้กระทั่งนักเรียนของเรา
เมื่อก่อนหนิงยอมรับนะคะ ตอนหนิงสอนโยคะแรก ๆ หนิงก็อาจจะทำบาปโดยไม่รู้ตัว บาปที่เกิดจากความปรารถนาดี ที่ต้องการช่วยนักเรียน ที่คิดว่าเราตั้งใจสอน ช่วยให้นักเรียนมีพัฒนาการที่ดีและเร็ว โดยการไปปรับ จัดท่านักเรียน มากเกินไป เพราะตอนนั้นเราเข้าใจและคิดว่าการไปดัด จัดยังไง แต่ยังไม่เข้าใจเรื่องร่างกาย เรื่องสรีระของนักเรียน ก็คิดว่าทุกคนคงใช้วิธีการเดียวกันได้ และทำ ๆ ไปเดี๋ยวนักเรียนก็จะดีขึ้น
ภายหลังมา ก็มีนักเรียนที่ฝึกอยู่มาบอกบ้างเหมือนกันนะคะ ว่ามีนักเรียนเก่าบางคนเคยมาเรียนกับหนิงแล้วเขาเจ็บ หนิงก็ไม่ปฏิเสธนะคะ ว่าเมื่อก่อนจากการสอนแบบที่เราคิดว่าเรารู้แล้่ว เพราะเราก็เรียนมา และเราก็ทำเหมือนกับที่ครูทำกับเราและคนอื่น ๆ มันก็ไม่น่าจะมีปัญหา แต่วันนี้หลังจากที่ได้เรียนรู้ หลักของโยคะมากขึ้น เรียนรู้อนาโตมี่มากขึ้น ทำให้เห็นว่าสรีระของแต่ละคนแตกต่างกันอย่างไร เราจะต้องปรับการฝึกของนักเรียนให้เหมาะสมกับร่างกายเขาอย่างไร และคิดว่ายังไงก็จะเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ เพื่อเข้าใจให้มากขึ้น จะได้นำมาใช้ได้กับทั้งตัวเอง และกับนักเรียน
ดังนั้น หนิงก็ได้แต่ให้ขอคิดกับประสบกาณ์ตัวเองผ่านทางบล็อกนี้ละกันนะคะ สำหรับครูคนอื่น ๆ ว่า
ระหว่างการสอนที่เรา “ได้บุญ” กับการสอนที่คิดว่าได้บุญแต่กลับได้บาปแฝงมา มันเป็นยังไง
รู้กันแล้ว อ่านกันแล้วก็ลองปรับ และศึกษาเรียนรู้กันให้มาก ๆ นะคะ มี “อหิงสา” กับนักเรียนให้มาก ๆ ค่ะ
Recent Comments